หมวดที่ 5

หมวด/ตัวชี้วัด หลักฐาน/การเก็บข้อมูล คะแนน ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมิน
หมวดที่ 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย (15 คะแนน) 14.42
5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน 

หลักฐาน :

1. มีแผนการดูแลบำรุงรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปูพื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)

สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีการกำหนดแผนการบำรุงรักษาและตรวจเช็คอุปกรณ์สำนักงาน ได้แก่ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น พร้อมทั้งมีการกำหนดหน้าที่ความผิดชอบการดำเนินการตามแผน ซึ่งคณะมีแผนการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ โดยกำหนดการล้างทําความสะอาดตามแผนการบำรุงรักษา ปีละ 2 ครั้ง ในระหว่างปฏิบัติงานจะมีการใช้วัสดุคลุมอุปกรณ์เพื่อไม่ให้เกิดการกระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ และหลังจากปฏิบัติงานแล้วเสร็จได้มีการจัดเก็บและทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ดังกล่าวให้เหมือนเดิม การทําความสะอาดเครื่องปรับอากาศนับเป็นการช่วยให้คุณภาพอากาศในการทํางานมีคุณภาพที่ดีขึ้น 

คณะยังมีการกำหนดมาตรการการควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงานดังนี้

  1. มีแผนการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) และเครื่องถ่ายเอกสาร
  2. ใช้งานเครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) แบบส่วนรวม งดการใช้เครื่องแบบส่วนตัว และติดตั้งเครื่องฟอกอากาศหรือต้นไม้ที่ช่วยในการดูดซับสารระเหยบริเวณที่ตั้งเครื่องพิมพ์เอกสาร
  3. มีการจัดวางเครื่องถ่ายเอกสารแยกออกมาจากห้องสํานักงาน และวางต้นไม้ที่มีคุณสมบัติในการกรองอากาศตั้งไว้บริเวณใกล้เคียง เพื่อช่วยในการดูดซับสารระเหย พร้อมทั้งมีการตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณเครื่องถ่ายเอกสาร
  4. มีการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารเป็นประจำทุกปี
  5. ควบคุมควันไอเสียรถยนต์โดยติดป้าย “จอดรถกรุณาดับเครื่องยนต์”
  6. ติดป้ายประชาสัมพันธ์การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ตามบริเวณต่าง ๆ ในสำนักงาน และกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่อยู่บริเวณด้านหลังของอาคาร
  7. มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศ
2. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนการดูแลบำรุงรักษา
3. มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ 1
4. มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ 1
5. การจัดวางเครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องถ่ายเอกสาร (Printer) ให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
6. การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์
7. การป้องกันอันตรายจากการพ่นยากำจัดแมลง (ถ้ามี)
8. มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่ายเป็นหลักฐานประกอบ)
5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด 

หลักฐาน :

1. มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่

สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น

  1. มีป้ายประชาสัมพันธ์สถานที่ปลอดบุหรี่ ตามกฎหมาย เพื่อรณรงค์ไม่สูบบุหรี่อยู่บริเวณหน้าลิฟท์ชั้น 1 และป้ายแสดงโทษของนิโคตินในบุหรี่ติดอยู่ในลิฟท์โดยสาร รวมถึงห้ามสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าในอาคาร ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 5,000 บาท
  2. มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ตามจุดต่าง ๆ ในอาคาร เช่น ลานอเนกประสงค์ ลานจอดรถ เป็นต้น
  3. มีการจัดพื้นที่สูบบุหรี่ไว้อยู่ภายนอกตัวอาคารด้านหลัง และมีการจัดภูมิทัศน์ของต้นไม้ล้อมรอบบริเวณพื้นที่สูบบุหรี่ เพื่อให้ต้นไม้ช่วยดูด
  4. แบบแปลนแสดงผังบริเวณอาคารที่กำหนดเป็นพื้นที่สูบบุหรี่ ที่อยู่ภายนอกอาคารด้านหลัง ไม่ได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญของผู้สัญจรไปมาในละแวกนั้นซับควันจากบุหรี่เป็นการลดมลพิษที่จะปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมและบริเวณสูบบุหรี่อยู่ในบริเวณที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญของผู้สัญจรไปมา
2. มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
3. มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
4. เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า – ออกของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น
5. ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่
5.1.3 การจัดการมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน

หลักฐาน :

1. กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร

สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น

พื้นที่บริเวณสํานักงานยังไม่มีการก่อสร้าง การปรับปรุงอาคาร หรืออื่น ๆ ในสํานักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน แต่อย่างไรก็ตามคณะได้กำหนดมาตรการรองรับหากมีการก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคารในอนาคต

มาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง หรือปรับปรุงอาคาร ดังนี้

  1. กำหนดพื้นที่ทํางานสํารองในการปฏิบัติงานให้แก่พนักงานเพื่อลดการสัมผัสมลพิษด้านฝุ่นละอองและสารเคมีในการก่อสร้าง /ปรับปรุงอาคาร โดยในเบื้องต้นมีนโยบายใช้พื้นที่สํารองการทํางานในอาคารหลังใหม่ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  2. ทําหนังสือแจ้งผู้รับจ้างให้มีที่กั้นเพื่อป้องกันฝุ่น หรือสารเคมีก่อนเข้าดำเนินการก่อสร้าง
  3. มีที่กั้นเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศอันจะส่งผลกระทบต่อพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
  4. ทําการติดป้ายแจ้งเตือนเมื่อมีการก่อสร้าง เพื่อการเตรียมพร้อมและเฝ้าระวังการได้รับอันตราย
  5. ควรมีการกำหนดให้มีการก่อสร้าง หรือปรับปรุงอาคารในวันหยุด แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทําในวันและเวลาราชการ ควรมีมาตรการกำหนดให้ัใช้เสียงให้เบาที่สุด หรือ งานที่ก่อให้เกิดเสียงให้ทําเป็นช่วง ๆ หลีกเลี่ยงการดําเนินงานแบบต่อเนื่อง
  6. การทาสีอาคาร ควรปล่อยให้สีแห้งและทิ้งเวลาไว้ให้กลิ่นสีระเหยออกไป อย่างน้อย 2 – 3 สัปดาห์ก่อนเข้าใช้พื้นที่
  7. ควรปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
2. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1)
5.2 แสงในสำนักงาน
5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด

หลักฐาน :

1. มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างประจำปี พร้อมแสดงหลักฐานผลการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างเฉพาะจุดทำงานและพื้นที่ทำงาน

สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์กำหนดมาตรการควบคุมแสงในสำนักงาน และแนวปฏิบัติในการตรวจวัดความเข้มแสง โดยใช้แนวทางตามข้อกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 โดยศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางอาคาร (CBIT) ได้ดำเนินการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านแสงสว่างในพื้นที่สำนักงานของคณะ พร้อมทั้งผลที่ได้จากการตรวจวัดนำไปปรับเปลี่ยนแก้ไขให้เป็นไปตามเกณฑ์

2. เครื่องวัดความเข้มของแสงสว่างจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)
3. ผลการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด
4. ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
5.3 เสียง
5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคารสำนักงาน

หลักฐาน :

1. กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน

สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น

เสียงรบกวนภายในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยทั่วไปเกิดมาจากแหล่งกำเนิดเสียง คือ 1) เสียงที่เกิดจากการจัดกิจกรรมของนิสิต ในช่วงเวลางาน 2) เสียงที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารใหม่ หรือการปรับปรุงห้องต่าง ๆ และ 3) เสียงจากการทำงานของเครื่องปั๊มน้ำชั้นล่างอาคาร

ดังนั้น จึงมีการกำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสํานักงานดังนี้

  1. ให้แต่ละหน่วยงานเลือกใช้เครื่องพิมพ์เอกสารที่ไม่มีเสียง หรือเสียงดังไม่มาก และนําไปวางในจุดที่ห่างบุคลากร เพื่อไม่ให้รบกวนการทํางาน
  2. ให้แต่ละหน่วยงานปรับเสียงโทรศัพท์ให้อยู่ในระดับพอเหมาะ โดยไม่ให้มีเสียงดังรบกวนผู้อื่น
  3. งดการโทรศัพท์โดยการเปิดลำโพง และคอมพิวเตอร์ ให้ใช้หูฟังแทน
  4. กรณีเกิดเสียงดังจากการสนทนาภายในห้องสมุด ให้ติดป้ายกรุณาอย่าส่งเสียงดัง หรือห้ามส่งเสียงดังพร้อมทั้งจัดทําข้อกําหนดพื้นฐานในการเข้าใช้งานพื้นที่ห้องสมุด
  5. กรณีมีเสียงดังจากการเปิด-ปิดประตู ควรติดป้าย “กรุณาปิดประตูเบาๆ” หรือ ควรตรวจสอบบานพับ หรือโช้คสวิงประตูหากชํารุด เสียหายก็ควรเปลี่ยนใหม่
  6. จัดกิจกรรมนิสิตไม่ให้ซ้อนกับเวลาทํางาน และจัดพื้นที่กิจกรรมที่ใช้เสียงไม่ให้ใกล้กับพื้นที่ทํางาน เช่น พื้นที่เรียน พื้นที่ประชุม เป็นต้น
  7. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
2. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
5.3.2 การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน 

หลักฐาน :

1. กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่เกิดจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร

สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น

เนื่องจากบริเวณสํานักงานไม่มีการก่อสร้าง การปรับปรุงอาคาร หรืออื่น ๆ ที่ส่งผลด้านเสียงดังต่อพนักงาน แต่อย่างไรก็ตามคณะได้กำหนดมาตรการรองรับด้านการจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง หากมีการก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคารในอนาคต ดังนี้

  1. กำหนดพื้นที่ทํางานสํารองในการปฏิบัติงานให้แก่พนักงานเพื่อลดผลกระทบด้านเสียงดังในการก่อสร้าง /ปรับปรุงอาคาร โดยในเบื้องต้นมีนโยบายใช้พื้นที่สํารองการทํางานในอาคารหลังใหม่ ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  2. ทําหนังสือแจ้งผู้รับจ้างให้มีที่กั้นเป็นอาณาเขตในการก่อสร้างก่อนเข้าดำเนินการ
  3. ทําการติดป้าย แจ้งเตือน เมื่อมีการก่อสร้าง เพื่อการเตรียมพร้อมและเฝ้าระวังการได้รับอันตราย
  4. ควรมีการกําหนดให้มีการก่อสร้าง หรือปรับปรุงอาคารในวันหยุด แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทําในวันและเวลาราชการ ควรมีมาตรการกำหนดให้ัใช้เสียงให้เบาที่สุด หรือ งานที่ก่อให้เกิดเสียงให้ทําเป็นช่วง ๆ หลีกเลี่ยงการดําเนินงานแบบต่อเนื่อง
  5. ควรปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดทางสํานักงานมีการตรวจวัดความดังของเสียงในสํานักงาน

โดยดำเนินการตรวขวัดความดังของเสียงในสำนักงานบริเวณสํานักงานชั้น 1 มี 3 จุดวัด คือ จุดที่ 1 โถงทางเข้าด้านหน้าอาคาร จุดที่ 2 โถงทางเข้าด้านข้างอาคาร ติดเส้นทางสัญจรในมหาวิทยาลัย และจุดที่ 3 โถงทางเข้าด้านหลังอาคาร เป็นทางเดินไปยังอาคารใหม่ บริเวณสํานักงาน 2 และสํานักงานชั้น 3

2. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1)
5.4 ความน่าอยู่
5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของสำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้ 

หลักฐาน :

1. จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่นๆ ที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้

สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีการจัดทํารูปแบบแผนผังของสํานักงานทั้งในตัวอาคารและภายนอกอาคาร โดยแบ่งตามลักษณะของการใช้พื้นที่อย่างชัดเจน ซึ่งมีคณะกรรมการกายภาพของคณะ เป็นผู้วางแผนกำกับดูแลการใช้พื้นที่และกำหนดนโยบายการบริหารจัดการ ในทางปฏิบัติมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคาร 2 คน ดูแลงานอาคารกายภาพทั้งหมด และเจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ 1 คน ดูแลห้องเรียนและห้องประชุม และแม่บ้าน รวมทั้งมีการกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและคงรักษาไว้ของสำนักงาน และดำเนินการตรวจวัด “สภาวะน่าสบาย” ภายในอาคารของคณะ

2. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
3. มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
4. การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติจริงตามแผนงาน
5.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด 

หลักฐาน :

5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น 

หลักฐาน :

 

สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีแผนการดูแลพื้นที่ของสำนักงาน  เพื่อดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร และแผนการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสํานักงาน ได้แก่ การปลูกต้นไม้เล็ก ๆ เพื่อช่วยฟอกอากาศบริเวณโต๊ะทำงานหรือวางไม้กระถางภายในสำนักงาน ปลูกต้นไม้ตามแบบสวนแนวตั้งริมระเบียงทางเดินอาคารและจัดวางต้นไม้กระถางตามแนวทางเดินภายในอาคาร ปรับภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้ สับเปลี่ยนไม้กระถางภายในและภายนอกอาคาร ดูแลรดน้ำ ตัดแต่ง ใส่ปุ๋ย และกำจัดวัชพืช

5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด

หลักฐาน :

1. มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงาน มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค พร้อมทั้งตรวจร่องรอยสัตว์พาหะนําโรคและบันทึกผลลงในรายงานการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนําโรคเป็นประจำ เดือนละ 1 ครั้ง และกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค โดยสัตว์พาหะที่พบ คือ นกพิราบและนกกระจอก ในบริเวณโรงอาหารของคณะ ฝ่ายอาคารและสถานที่ดำเนินการทำที่เก็บภาชนะ เพื่อป้องกัน นกพิราบมากินเศษอาหาร รวมทั้งได้ทําการถอดหน้ากากของโคมไฟที่โรงอาหารออก เพื่อป้องกันการทํารังของนกกระจอก

2. มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรคอย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง
3. มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)
4. แนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
5. ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์พาหะนำโรคในระหว่างการตรวจประเมินของกรมฯ
หมายเหตุ การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สำนักงานสามารถควบคุมและจัดการได้เอง หรือว่าจ้างหน่วยงานเฉพาะมาดำเนินการแทน
5.5 การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน
5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามแผนที่กำหนด 

หลักฐาน :

การจัดอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟควรทบทวนแผนปฏิบัติการป้องกันและรองรับเหตุฉุกเฉินของอาคารให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยฉบับปัจจุบันสอดคล้องกับบริบท กิจกรรม และขอบเขตพื้นที่ของสำนักงาน โดยควรจัดทำเป็นเอกสาร/คู่มือ และประชาสัมพันธ์แผนฉุกเฉินให้พนักงานทุกคนรับทราบและเข้าใจในการปฏิบัติ
1. มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ

สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ ปีละ 1 ครั้ง โดยในปี 2566 ได้จัดโครงการซ้อมอพยพหนีไฟและดับเพลิงเบื้องต้น เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 มีจำนวนผู้ร่วมโครงการจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 44.94 ของบุคลากรทั้งหมด คณะได้กำหนดจุดรวมพลพร้อมป้ายแสดงอย่างชัดเจน มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ จุดติดตั้งธงนำทางหนีไฟไปยังจุดรวมพล พร้อมได้ดำเนินการสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟพร้อมป้ายแสดงอย่างชัดเจน ทั้งยังได้จัดทำคู่มือการอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการดับเพลิงและอพยพหนีไฟ

2. จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้นจะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของพนักงานแต่ละแผนกหรือส่วนงาน
3. พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (พิจารณาพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่อยู่ประจำพื้นที่สำนักงานที่มีการฝึกซ้อมเท่านั้น)
4. มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น
5. มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น
6. มีการกำหนดจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน พิจารณาการจัดพื้นที่จุดรวมพลให้เหมาะสม ปลอดภัย ไม่มีรถยนต์จอดกีดขวาง เพื่อให้สามารถรองรับได้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
7. มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ ไปยังจุดรวมพล พร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
8. มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

หลักฐาน :

สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีการจัดทำมาตรการรองรับกรณีเกิดเหุฉุกเฉิน หรือ แผนฉุกเฉิน แผนด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย

1.  ก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ ได้แก่

1.1 แผนการอบรมป้องกันและระงับอัคคีภัย 1.2 แผนรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย 1.3 แผนการตรวจตราเพื่อป้องกันอัคคีภัย

2.  ขณะเกิดเพลิงไหม้ ได้แก่

2.1 แผนระงับอัคคีภัย 2.2 แผนอพยพหนีไฟ

3. หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ ได้แก่

3.1 แผนบรรเทาทุกข์ 3.2 แผนปฏิรูปฟื้นฟู

5.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และร้อยละของพนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน) 

หลักฐาน :

1. การติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง

  • ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่าง อย่างน้อย 20 เมตร/ถัง ตามกฎหมาย ติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตรนับจากคันบีบ และถ้าเป็นวางกับพื้นจะต้องมีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง
  • ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)
  • สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) (ถ้ามี)

สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง ถังดับเพลิง มีสายฉีดน้ำดับเพลิง และมีตู้เก็บสายฉีดที่เพียงพอต่อการใช้งานและเป็นไปตามกฎหมายพร้อมมีป้ายแสดงอยู่ด้านหน้าตู้ มีการตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงโดยเจ้าหน้าที่หน่วยอาคารและสถานที่เป็นประจำทุกเดือน บริเวณด้านหน้าของตู้ดับเพลิงไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ

2. ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน

  • สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่มากกว่า 300 ตารางเมตรหรืออาคารสูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)
  • ติดตั้งตัวดักจับควัน (smoke detector) หรือตัวตรวจจับความร้อน (heat detector)
3. มีการตรวจสอบข้อ (1) – (2) และหากพบว่าชำรุดจะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข
4. พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้งเตือน อย่างน้อยร้อยละ 75 จากที่สุ่มสอบถาม
5. ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save