หมวดที่ 4
หมวด/ตัวชี้วัด | หลักฐาน/การเก็บข้อมูล | คะแนน | ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมิน |
หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย (15 คะแนน) | 15 | ||
4.1 การจัดการของเสีย | |||
4.1.1 มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสม มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ |
หลักฐาน : |
||
1. มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ |
สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้กำหนดแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสม (1) การแยกประเภทขยะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แบ่งประเภทขยะและถังขยะตามพฤติกรรมของนิสิตและบุคลากร เป็น 7 ประเภท เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บ การนำไปใช้ซ้ำและรีไซเคิล และการส่งกำจัด ดังนี้
บริเวณจุดแยกขยะทุกจุดมีป้ายแนะนำวิธีการแยกขยะ เพื่อให้ผู้ทิ้งขยะสามารถทิ้งขยะได้ถูกต้อง (2) การติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แบ่งประเภทขยะและถังขยะตามพฤติกรรมของนิสิตและบุคลากรในคณะฯ ออกเป็น 7 ประเภท และติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะ (3) จุดพักขยะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แม่บ้านของคณะฯ รวบรวมขยะภาระโลกใส่ถุงดำ นำไปวางที่จุดทิ้งขยะ/พักขยะของมหาวิทยาลัย ที่บริเวณด้านหลังอาคารจอดรถบางเขน สภาพแวดล้อมของจุดพักขยะ ซึ่งในปัจจุบันกองกายภาพและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนได้ดำเนินการปรับปรุงจุดพักขยะของมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (4) การทิ้งขยะถูกต้องทุกจุด แม่บ้านของคณะฯ เป็นผู้ตรวจสอบการทิ้งขยะในถังแต่ละประเภทให้ถูกต้อง หากพบว่า มีการทิ้งที่ไม่ถูกต้อง จะแจ้งผู้รับผิดชอบ เพื่อหาวิธีปรับปรุงแก้ไข เช่น การทำป้ายประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม การบอก/อธิบายวิธีการแยกขยะแก่นิสิตเมื่อพบนิสิตที่ทิ้งขยะไม่ถูกต้อง (5) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย แม่บ้านของคณะฯ จะบรรจุขยะภาระโลกที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ใส่ถุงดำ นำไปวางที่จุดพักขยะของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกองยานพาหนะฯ มก. จัดเก็บและนำขยะส่งไปยังศูนย์ขนถ่ายมูลฝอยท่าแร้ง ถนนสุขาภิบาล 5 ซอย 42 แขวงออเงิน เขตสายไหม กทม. และสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. จ้างผู้รับเหมาขนย้ายขยะไปฝังกลบ ที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ต่อไป ส่วนขยะภาระโลกที่เป็นขยะแห้ง จะส่งต่อให้ N15 Technology นําไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง RDF ด้วยเตาเผาระบบปิด (6) การติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะ แผนภูมิการจัดการขยะของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในภาพที่ 3.58 แสดงให้เห็นว่า ขยะของคณะฯ ได้รับการกำจัดโดย กทม. ซึ่งนำขยะไปฝังกลบที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ถือว่ามีการจัดการขยะอย่างเหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชาการ และ N15 Technology นําไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง RDF ด้วยเตาเผาระบบปิด |
||
2. มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ | |||
3. มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละประเภทจากข้อ (1) อย่างเพียงพอ | |||
4. มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ | |||
5. มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย | |||
6. มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม) | |||
7. ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง) | |||
4.1.2 การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง |
หลักฐาน : |
||
1. มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ |
สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น (1) การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ การประชาสัมพันธ์การจัดการขยะอย่างถูกต้อง ขยะที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ต้องมีการแยกอย่างถูกต้องตั้งแต่ต้นทาง เพื่อไม่ให้ขยะสกปรกหรือปนเปื้อน คณะฯ ได้จัดทำป้ายแนะนำวิธีการแยกขยะประเภทต่าง ๆ ติดที่บริเวณจุดแยกขยะ เพื่อให้นิสิตและบุคลากรสามารถแยกขยะได้อย่างถูกต้อง และจัดทำไฟล์ภาพเพื่อประชาสัมพันธ์ให้นิสิตและบุคลากรช่วยกันลดปัญหาขยะ ติดตั้งบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ในห้องบรรยายและห้องประชุม การใช้กระดาษพิมพ์งาน/ถ่ายเอกสาร โดยใช้ทั้งสองหน้า คณะฯ ได้จัดกล่อง/ชั้นสำหรับวางกระดาษ 2 แบบ คือ กระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้า และกระดาษที่ใช้แล้ว 2 หน้า พร้อมทั้งป้ายแนะนําวิธีการแยกและการจัดวางกระดาษอย่างถูกต้องแก่ผู้ใช้งาน โดยจัดกล่องและป้ายแนะนําไว้ที่บริเวณเครื่องถ่ายเอกสาร ส่วนกระดาษที่ใช้แล้ว 2 หน้า ให้ทิ้งในกล่อง/ถังขยะสำหรับทิ้งกระดาษที่ใช้แล้ว 2 หน้า เพื่อให้แม่บ้านนำไปขายแก่ผู้รับซื้อเพื่อนำไปรีไซเคิล การจัดถังรับบริจาคขยะเพื่อนำไปรีไซเคิล คณะฯ จัดถังรับบริจาคกล่องเครื่องดื่มเพื่อทำหลังคาเขียว และถังรับขยะพลาสติกสะอาดเพื่อนำไปรีไซเคิล ที่บริเวณโรงอาหารของคณะฯ เมื่อกล่องเครื่องดื่มเต็มถัง ทางคณะฯ จะประสานให้กองกายภาพและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน มารับกล่องเครื่องดื่มเพื่อนำส่งบริษัทต่อไป ส่วนพลาสติกสะอาด เจ้าหน้าที่ของโครงการฯ นำรถมารับขยะพลาสติกไปรีไซเคิลเดือนละ 1 ครั้ง การนำถุงผ้ามาแบ่งปันใช้ซ้ำ คณะฯ ได้ทำโครงการ “ถุงผ้าปันกัน” โดยรับบริจาคถุงผ้า จัดพื้นที่แขวนถุงผ้าบริเวณห้องพักบุคคลากรและโรงอาหาร และเชิญชวนให้บุคลากรนําถุงผ้าไปใช้เมื่อต้องการไปซื้อของ/อาหาร แล้วนำกลับมาคืน เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และลดขยะในสํานักงาน การ Repair ครุภัณฑ์ คณะฯ นำครุภัณฑ์ชํารุดเสื่อมสภาพ นํากลับมาใช้ใหม่ จากโต๊ะบรรยายเก่าชํารุด ถอดอะไหล่ประกอบเป็นตัวใหม่ใช้งานได้ดี การ Upcycling Upcycling ตู้ล๊อคเกอร์ 2 ชั้น เก่า ชํารุด นํามาออกแบบใหม่ใช้เป็นถังขยะคัดแยกขยะอินทรีย์ในโรงอาหาร การจัดการเรียนการสอน มีการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการออกแบบผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุและวิชา Scrap Design การทําคอกปุ๋ยหมัก มีการวางแผนดำเนินการจัดทําคอกปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ การทําปุ๋ยอินทรีย์ การทําปุ๋ยอินทรีย์จากเศษอาหาร การใช้ถ่านชาร์จแทนถ่านอัลคาไลน์ มีการใช้ถ่านชาร์จแทนถ่านอัลคาไลน์ เพื่อลดขยะอันตราย การใช้กระดาษห่อกระดาษ นำกระดาษห่อกระดาษ มาทำที่ห่อผ้าอนามัย (2) การบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภท แม่บ้านของคณะฯ ได้ชั่งน้ำหนักขยะ 3 ประเภท คือ ขยะภาระโลก ขยะเศษอินทรีย์เวลา 15.30 น. ทุกวัน บันทึกน้ำหนักขยะก่อนนำขยะแต่ละประเภทไปจัดการ ส่วนขยะประเภทขวด/แก้วพลาสติก และกระดาษ จะชั่งน้ำหนักเมื่อขายให้แก่ผู้รับซื้อ (3) การวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1 ข้อ 1.1.5 หมวด 1 ข้อ 1.1.5 กำหนดให้หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย ลดปริมาณขยะในคณะลง 0.5% พบว่า ปริมาณของเสียทั้งหมด ปี พ.ศ. 2565 เฉลี่ยรวม 881.48 กิโลกรัม คิดปริมาณของเสียต่อจำนวนคน 12.17 กิโลกรัมต่อคน ปริมาณของเสียทั้งหมด ปี พ.ศ. 2566 (เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน) เฉลี่ยรวม 991.29 กิโลกรัม คิดปริมาณของเสียต่อจำนวนคน 6.48 กิโลกรัมต่อคน การเปลี่ยนแปลงขยะในปี 2565 – 2566 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีปริมาณของเสียต่อจำนวนคนลดลง 30.72% ซึ่งมีปริมาณขยะลดลงมากกว่าค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1 ข้อ 1.1.5 เนื่องจากในปี 2565 อยู่ในสถานการณ์โควิด-19 การเรียนการสอนยังคงรูปแบบออนไลน์ แต่ในปี 2566 การเรียนการสอนได้ปรับมาดำเนินการปกติจำนวนคนจึงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณของสียต่อจำนวนคนจึงลดลง และในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม เป็นช่วงเดือนที่ปริมาณขยะลดลงมากที่สุด |
||
2. มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือน | |||
3. มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1 ข้อ 1.1.5 | |||
4. ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลง | |||
4.2 การจัดการน้ำเสีย | |||
4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้ |
หลักฐาน : |
||
1. การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล |
สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น (1) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์กำหนดให้ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคารสถานที่ คือ นายปรีชา อินทรสกุล และนายเกชา ทรงศิริ เป็นผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสียในอาคาร ตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสีย ให้สามารถใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอ (2) การบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การบำบัดน้ำเสียในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทำโดยการส่งน้ำเสียจากการซักล้างทำความสะอาด และการประกอบอาหารในบริเวณโรงอาหารไปบำบัดยังระบบบำบัดน้ำเสียรวมของมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ห่างจากคณะ ประมาณ 300 เมตร ส่วนน้ำเสียจากสิ่งขับถ่ายมีระบบบ่อเกรอะ (Septic Tank) บำบัดในพื้นที่ของคณะ ก่อนส่งน้ำเสียไปยังระบบบำบัดน้ำเสียรวม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีแนวทางการจัดการน้ำเสียโดยลดปริมาณขยะและเศษอาหารจากแหล่งกำเนิด ติดป้ายแนะนำ “วิธีล้างภาชนะแบบรักษ์โลก” บริเวณจุดล่างภาชนะ และติดตั้งถังดักไขมัน เพื่อกรองคราบน้ำมันและไขมัน เศษขยะ เศษอาหารปนเปื้อน บริเวณจุดล้างภาชนะในห้องทานอาหารของบุคลากร ชั้น 2 และ 3 และในโรงอาหาร ก่อนส่งน้ำเสียไปยังท่อกลางของมหาวิทยาลัย (3) การบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีระบบรวบรวมน้ำเสียเพื่อส่งไปบำบัดยังระบบบำบัดน้ำเสียรวมของมหาวิทยาลัย โดย 1) รวบรวมน้ำเสียจากอ่างล้างมือในห้องน้ำทุกห้อง อ่างล้างจานในโรงอาหารและห้องพักรับประทานอาหารของบุคลากร และการซักล้าง ส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียรวม และ 2) น้ำเสียจากสิ่งปฏิกูลจะผ่านถังบำบัดหรือระบบบ่อเกรอะ (Septic Tank) บำบัดในพื้นที่ของคณะ ก่อนส่งน้ำเสียไปยังระบบบำบัดน้ำเสียรวม (4) ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งของคณะก่อนเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของมหาวิทยาลัย โดยเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ได้เก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง เพื่อนําส่งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางอาคาร (CBIT) ตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง โดยผลการวิเคราะห์น้ำทิ้งพบว่า คุณภาพน้ำทิ้งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด และน้ำเสียจากคณะได้รับการบําบัดที่ระบบบําบัดน้ำเสียรวมของมหาวิทยาลัย |
||
2. มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีการมีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับองค์ประกอบของน้ำเสีย | |||
3. มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย | |||
4. มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด | |||
4.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทางดังนี้ |
หลักฐาน : |
||
1. มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหาร และไขมันออกจากตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมัน ตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน |
สรุปผลการดำเนินงานเบื้องต้น คณะฯ ติดตั้งถังดักไขมันบริเวณอ่างล้างภาชนะและได้วางแผนการดูแลถังดักไขมัน ดังต่อไปนี้ 1. มอบหมายแม่บ้าน ทิ้งเศษอาหารจากตะแกรงกรองเศษอาหารในอ่างล้างจานทุกวัน 2. มอบหมายแม่บ้าน ตักไขมันที่ลอยอยู่เหนือน้ําออกทุก 3-4 วัน (บริเวณจุดล้างภาชนะในโรงอาหาร) และทุกสัปดาห์ (บริเวณชั้น 2 และ 3) นําไขมันที่ตักใส่ถุงดํามัดให้แน่นหนา นําไปวางที่จุดพักขยะของ มก. เพื่อให้ มก. นําส่ง กทม. ไปกําจัดต่อไป 3. มอบหมายแม่บ้าน ล้างถังดักไขมันทุก 6 เดือน โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคารสถานที่เป็นผู้ดูแล บริเวณถังดักไขมันทุกจุด เมื่อแม่บ้านทําความสะอาดแล้ว จะบันทึกในตารางทุกครั้ง ซึ่งผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ําเสียบันทึก เมื่อตรวจสอบระบบบําบัดน้ําเสียทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ คณะฯ ได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปริมาณน้ําเสีย และกําหนดมาตรการการประหยัดน้ํา เพื่อลดปริมาณการใช้น้ํา ซึ่งก่อให้เกิดปริมาณน้ําเสีย โดยมีมาตรการประหยัดน้ําดังเสนอในหมวดที่ 3 |
||
2. มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย หรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดักไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง | |||
3. มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ | |||
4. มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ |